The way to art "เส้นทางสู่ศิลปะ"

The way to art "เส้นทางสู่ศิลปะ"
นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย "The way to Art" เส้นทางสู่ศิลปะ โดย นักศึกษาปริญญาโท สาขาจิตรกรรม คณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการแสดงความรู้ความสามารถทางการศึกษาหลังจากที่ได้เข้ามาศึกษาในระดับศิลปมหาบัณฑิต และในปี 2553 นี้ ภาควิชาได้คัดเลือกนักศึกษา 10 คน ได้แก่ นักรบ กระปุกทอง , รณชัย กิติศักดิ์สิน , เกรียงไกร กุลพันธ์ , สุเมธ พัดเอี่ยม , สุนทรี เฉลียวพงษ์ , พีรนันท์ จันทมาศ , วรรณพล แสนคำ , ศุภวัฒน์ วัฒนภิโกวิท , พิเชษฐ บุรพธานินทร์และวัลลภัคร แข่งเพ็ญแข อันมีผลงานการสร้างสรรค์ที่สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติที่มีต่อตนเองและสภาพสังคมในปัจจุบัน ปัญญาแห่งการเรียนรู้ และเป็นการเผยแพร่ผลงานที่มีคุณค่าออกสู่สายตาสาธารณะชน

THE WAY TO ART

นิทรรศการเส้นทางสู่ศิลปะ The way to art มีกำหนดการแสดงผลงาน ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชั้น 4 ห้อง Stodio ในวันพฤหัสที่ 21 เมษายน ถึง วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2554

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Soul of the city

Soul of the city
จิตวิญญาณแห่งเมือง

เนื่องจากสภาพการณ์ ณ เวลาปัจจุบัน เมืองหลวงกรุงเทพมหานคร มีการเพิ่มของจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความจำเป็นต้องก่อสร้างตึก อาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นให้ทั่วถึง ดังนั้นสิ่งก่อสร้างจึงเกิดขึ้นมากมายเพื่อรองรับอุปสงค์นี้ และด้วยตัวสภาพของเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันกันสูงในสังคม มุ่งเน้นความเจริญไปทางด้านวัตถุ ที่รกร้าง อาคารเก่า จึงที่ถูกรื้อถอนลงเพื่อสร้างอาคารใหม่อันจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สภาพการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสังคมและความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่แวดล้อม...

ทัศนะ มุมมอง ที่มาจากปัญหาและผลกระทบดังกล่าวเป็นที่มาของผลงานจิตรกรรมสะท้อนสภาพแวดล้อม การแข่งขัน การล่มสลายในบางยุค บางช่วงเวลาทางเศรษฐกิจของสังคมเมือง ชุด Soul of the city จิตวิญญาณแห่งเมือง โดย พิเชษฐ บุรพธานินทร์ ศิลปินมีแนวคิดที่ต้องการนำเสนอ "ภาพความเสื่อมสลายของวัตถุหรือสถานที่ที่ดูเสื่อมโทรมรกร้างไร้ผู้คน เป็นการเปรียบเทียบเพื่อสะท้อนถึงจิตใจของคนในสังคมเมืองที่แสวงหาความมั่นคง ความสมบูรณ์ จากวัตถุภายนอก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ยังเป็นเพียงวัตถ ที่ไม่สามารถยึดเหนี่ยวพึ่งพาได้อย่างแท้จริง" ศิลปินใช้วิธีการจัดวางองค์ประกอบของภาพให้คล้ายจิ๊กซอร์ มีการทับซ้อนแบ่งแยก มีบางส่วนบกพร่องขาดหายไปไม่สมบูรณ์ แล้วแต่ที่มาของภาพนั้นๆ เพื่อตอกย้ำความรู้สึกแห่งการเสื่อมสลายทางด้านวัตถุและจิตใจผลงานในแต่ละชิ้นของพิเชษฐจะเน้นมุมมองตึกที่ร้างหรือตึกที่ถูกระเบิด ที่ดูแล้วมีจังหวะการถูกถล่ม การผุพังที่น่าสนใจแล้วนำจัดวางองค์ประกอบของภาพโดยวิธีการทับซ้อนรูปให้เกิดความลงตัวสอดคล้องรับกับแนวความคิด เพื่อเสริมมุมมองและเนื้อหาของผลงานให้ดูหนักแน่นสะเทือนใจ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปในเมืองใหญ่ เผยให้เห็นแง่มุมของความเสื่อมสลายที่แฝงเร้นหรือบางสถานที่ก็ปราฏกตัวท่ามกลางความเจริญของวัตถุ ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยความทะยานอยากเพื่อตอบสนองความปรารถนาอันไม่สิ้นสุดของมนุษย์ แต่ความต้องการหาใช่สิ่งที่แน่นอน ย่อมมีการเปลี่ยนผันแปรปรวนเช่นเดียวกับตึก อาคาร สิ่งก่อสร้าง ซึ่งหาได้มีความมั่นคงถาวรย่อมมีวันเสื่อมลงไป

***หมายเหตุ ชื่อผลงาน ขนาด เทคนิค จะตามลงให้ในภายหลัง***

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น